สร้าง drop-down list เพื่อเลือกข้อมูลให้ตาราง ตอนที่ 2

ความเดิมจากตอนที่แล้ว(เลียนแบบซีรีย์นิดนึง) จากจุดประสงค์ข้อแรกของเราลุล่วงไปด้วยดี ใครทำได้ไม่ได้อย่างไรคอมเม้นบอกกันได้นะครับ

คราวนี้มาถึงจุดประสงค์ที่ 2 ของเรา นั่นคือ ทำ drop-down list ให้ฟิลด์ emp_prename ให้มีตัวเลือก นาย, นาง, นางสาว

ที่จริงแล้วเราจะทำตามวิธีของตอนที่แล้วก็ได้ครับ นั้นคือสร้างตาราง ใหม่ขึ้นมา 1 ตาราง ใส่ข้อมูลคำนำหน้าเข้าไปในตาราง (คล้าย ๆ ตาราง department) เสร็จแล้วทำ ตามขั้นตอนของบทที่แล้ว

แต่เราจะสร้างตารางใหม่ให้เกะกะทำไมหล่ะครับ ในเมื่อเราสามารถทำ drop-down list อีกวิธีนึงได้ ลองมาดูกัน

ขั้นตอนที่ 1 เปิดตาราง employee ในมุมมองออกแบบ เลือกชนิดข้อมูลของฟิลด์ emp_prename เป็น Lookup Wizard

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ 2 จะเจอหน้าตา Wizard ที่เคยเห็นไปในตอนที่แล้ว ทีนี้ทำตามผมไปทีละขั้นเลยครับ

เราจะพิมพ์ข้อมูลเข้าไปเอง เลือหัวข้อที่ 2 ครับผม แล้วคลิก ถัดไป

 

 

 

 

 

 

ถัดมาให้เราระบุจำนวน คอลัมน์ ลงไปครับ อันนี้แล้วแต่ความจำเป็นว่าท่านจะอธิบายตัวเลือกซักกี่คอลัมน์ แต่ว่าจะมีเพียงแค่ คอลัมน์เดียวเท่านั้นที่สามารถบันทึกลงตารางได้ คอลัมน์อื่นเป็นแค่คำอธิบายเพิ่มเติม

ผมแนะนำว่า เอาคอลัมน์ ที่เราต้องการบันทึกลงตาราง ให้เป็นคอลัมน์แรก เสร็จแล้ว จัดความกว้างของคอลัมน์ ให้พอดีกับข้อมูล จากตรงนี้ได้เลย ถามว่าจัดที่หลังได้มั้ยความกว้างของคอลัมน์หน่ะ ตอบว่าได้ครับแต่ลำบากกว่าจัดตรงนี้เยอะ เสร็จแล้วคลิกถัดไป

 

ขั้นตอนนี้เลือกครับว่าจะเอาคอลัมน์ใด เพื่อใช้บันทึกข้อมูลลงตาราง เลือกเสร็จคลิกถัดไป

 

 

 

 

 

สุดท้ายก็ตั้งชื่อฟิลด์ ตรงนี้ไม่ต้องแก้ไขอะไร คลิกเสร็จสิ้นเพื่อปิด Wizard

 

 

 

 

 

เสร็จแล้วเพียงแค่นี้เราก็จะได้ Drop-down list โดยไม่ต้องสร้างตารางใหม่ให้เกะกะฐานข้อมูลแล้วหล่ะครับ

 

 

 

 

 

ปัญหาจากการใช้งานจริง ต้องเข้าใจนะครับว่า user ก็แค่คนธรรมดาคนนึงไม่มานั่งแคร์อะไรกับโปรแกรมเราหรอก เพราะฉะนั้นอาจมีการคีย์ผิดพลาดได้

ดูจากตัวอย่างรูปด้ายซ้ายมือ คำนำหน้าชื่อ มีให้เลือกก็ไม่เลือก ซะงั้น ใส่ “คุณ” เข้าไปอีกช่องเว้นว่างเลย ส่วน บางคนก็ไม่ใส่ แผนก เข้าไป

กรณีอย่างนี้เราจำเป็นต้องดัก Error ตอน user คีย์ข้อมูลครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดเวลาเราสรุปข้อมูล วิธีทำคือ

 

ขั้นตอนที่ 1 เปิดตารางขึ้นมาในมุมมองออกแบบ

เลือกที่ฟิลด์ emp_prename มองลงมาด้านล่างตรง คุณสมบัติเขตข้อมูลใส่ข้อมูลตามด้านล่างนี้ครับ

จำกัดแค่ในรายการ : Yes (อยู่ในแทปค้นหา)

จำเป็น : Yes (อยู่ที่แทปทั่วไป)

อธิบายนะครับ? จำกัดการค้นหาแค่ในรายการคือให้ใส่ได้แต่ในรายการครับ ถ้าพิมพ์อย่างอื่นนอกเหนือจากดรอปดาวน์ให้เลือก จะใส่ไม่ได้นะครับ

ส่วนช่องจำเป็นคือจำเป็นต้องให้ user เลือกหรือคีย์ข้อมูลลงไป เพราะถ้าช่องจำเป็นเป็น No แล้ว user จะสามารถปล่อยว่างไปได้โดยโปรแกรมจะไม่เตือนอะไรเลย -*-

 

 

ขั้นตอนที่ 2 ช่อง emp_name กับ emp_dep ไม่ควรจะให้ user เว้นว่างไว้ได้ ให้เราเปลี่ยน

จำเป็น : Yes

แค่นี้ user ก็เว้นว่างไว้ไม่ได้แล้วหล่ะครับ

 

 

 

 

ผลการใช้งานจริง

ฟิลด์ emp_prename จะฟ้องแบบนี้ ครับเวลาเตือน (ไม่ต้องแปลกใจครับ รูปนี้ผมเปลี่ยน ข้อความตรวจสอบเป็น “กรุณาเลือกคำนำหน้าชื่อครับ” เพื่อให้ user รู้ว่าคีย์ผิดตรงไหน)

 

 

 

 

 

ส่วนอันนี้คือข้อความเตือน หากปล่อยช่อง emp_name หรือ emp_dep ไว้เป็นค่าว่าง ^^

 

 

 

 

จบซักทีครับสำหรับตอนที่สอง หวังว่าคงจะเข้าใจนะครับ ถ้าไม่เข้าใจ ติดต่อ admin ได้เลย หลังไมค์ ^^

บทความที่เกี่ยวข้องกัน:

admin

admin

จุดประสงค์หลักของเว็บไซต์นี้คือการเก็บรวบรวมความรู้ความเข้าใจในแบบของผม ที่ผมได้ใช้ MS Access เพื่อเป็นคลังความรู้ให้ท่านที่สนใจจะศึกษา การใช้งาน MS Access ได้นำไปต่อยอดทำโปรแกรมของท่านไว้ใช้งานหรือไว้ให้ลูกค้าต่อไปครับ ^^