ปกติแล้ว ก่อนเริ่มการเขียน E-R Diagram ผมจะจัดเรียงข้อมูลเพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จะเก็บก่อน โดยกระบวนการจัดเรียงข้อมูลนั้น สากลทั่วไปเรียกว่าการทำ Normalization (นอร์มัลไลเซชัน)
Author: admin
มาโคร, VBA ไม่ทำงาน ปรับตั้งค่าตามนี้
สวัสดีครับ เนื่องจากมีน้องท่านหนึ่งที่ผมช่วยดูโปรเจ็คให้ ประสบปัญหาว่า เอ๋ ทำไมกดปุ่มบันทึกแล้วไม่เห็นมันบันทึกให้เลย ผมก็หาสาเหตุอยู่นาน เพราะว่าที่เครื่องผมก็ใช้บันทึกได้ปรกติ
จนซักพักนึงเอะใจว่า เครื่องน้องท่านนั้นได้ ได้ตั้งค่ามาโครหรือยังหว่า?
ปรกติแล้วผมจะตั้งค่าพวกนี้ตอนลง MS Office เสร็จ สำหรับท่านที่ไม่ทราบว่าเครื่องท่านตั้งค่าหรือยัง ก็ตั้งค่าไปพร้อมกันเลยครับ ^^
ระบบฐานข้อมูลเบี้องต้น ตอนที่ 5 คีย์ (Keys)
ตอนนี้จะกล่าวถึงคีย์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำฐานข้อมูลนะครับ เอาเรื่องทฤษฎีก่อนละกัน
Keys หมายถึง
– คอลัมน์(column) [แอตทริบิวต์(attribute)] 1 คอลัมน์ หรืออาจเป็นหลายๆคอลัมน์มาประกอบกันก็ได้
– มีค่าไม่ซ้ำกันในแต่ละแถว [มีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ (unique)]
– สามารถใช้คอลัมนั้นในการระบุคอลัมน์อื่นๆในแถว(row) [เรคอร์ด(record) หรือทูเพิล(tuple)] นั้นได้
ประเภทของคีย์ มีหลายแบบ ดังนี้
ระบบฐานข้อมูลเบี้องต้น ตอนที่ 4 E-R Diagram
E-R(Entity-Relationship) Diagram คือแผนภาพ ที่ใช้สัญลักษณ์มาตรฐาน ใช้ร่างฐานข้อมูลของเราหรือออกแบบฐานข้อมูลก่อนนำไปสร้างจริง ลองดูตัวอย่าง E-R Diagram ที่คนอื่นทำกันก่อนครับ?>>คลิกที่นี่<<
หากใครคลิกที่ลิงค์ด้านบนแล้ว จะเห็นแต่ละรูป E-R Diagram ใช้สัญลักษณ์คล้าย ๆ กัน ต่างกันอยู่แค่ไม่กี่แบบ ตามตัวอย่างด้านล่าง
ระบบฐานข้อมูลเบี้องต้น ตอนที่ 3 E-R Model
และแล้วก็ก็มาถึงเรื่องชวนปวดหัวของใครหลายคน นั้นก็คือ E-R Model (Entity Relationship Model) แต่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้ เพราะมันคือเครื่องมือที่ช่วยให้จินตนาการ หรือ ออกแบบระบบฐานข้อมูลได้ง่ายที่สุดแล้วล่ะครับ
อย่างที่พูดผมไปตั้งแต่ตอนที่ 1 ถ้าหากลากยาวอธิบายจนครบถ้วน ท่านคงหลับคาคอมพิวเตอร์แน่ ๆ ผมจะสรุปแต่ที่ท่านควรรู้ เป็นตัวอย่างให้ดูก็แล้วกันนะครับ
เมื่อกล่าวถึง Entity Relationship Model แปลตรงตัวก็คือ (more…)
สร้าง drop-down list เพื่อเลือกข้อมูลให้ตาราง ตอนที่ 2
ความเดิมจากตอนที่แล้ว(เลียนแบบซีรีย์นิดนึง) จากจุดประสงค์ข้อแรกของเราลุล่วงไปด้วยดี ใครทำได้ไม่ได้อย่างไรคอมเม้นบอกกันได้นะครับ
คราวนี้มาถึงจุดประสงค์ที่ 2 ของเรา นั่นคือ ทำ drop-down list ให้ฟิลด์ emp_prename ให้มีตัวเลือก นาย, นาง, นางสาว
ที่จริงแล้วเราจะทำตามวิธีของตอนที่แล้วก็ได้ครับ นั้นคือ (more…)
สร้าง drop-down list เพื่อเลือกข้อมูลให้ตาราง ตอนที่ 1
การสร้าง drop-down list ให้ตาราง จุดประสงค์เพื่อให้ user เลือกใส่ข้อมูลได้แต่เฉพาะข้อมูลที่เรากำหนดเท่านั้น (กัน user พิมพ์มั่วว่างั้น)ต่อไปนี้คือตัวอย่างการสร้าง drop-down list ให้ ตารางอย่างง่ายครับ
ก่อนอื่นคลิก ดาวโหลด เพื่อเอาไฟล์ตัวอย่างเพื่อทำไปพร้อมกันครับ ^^
ดูจากรูป เรามีตารางอยู่ 2 ตาราง นั่นคือตารางของ employee(ลูกจ้าง) และตาราง department(แผนก) เชื่อมความสัมพันธ์กันแบบ one-to-many หมายถึง ลูกจ้าง 1 คนอยู่ได้ 1 แผนก และ 1 แผนกสามารถมีลูกจ้างได้หลายคน (หากท่านไม่เข้าใจขอให้กลับไปดูเรื่อง E-R Model ใหม่ครับ ^^)
จุดประสงค์ของเราหัวข้อนี้ คือ (more…)